ประวัติการรบ ของ พันท์เซอร์ 4

พันท์เซอร์ 4 ถูกยิงเข้าหลายจุด สังเกตบริเวณป้อมปืน และลำกล้องปืน

พันท์เซอร์ 4 เป็นรถถังที่เยอรมันทำการผลิตตั้งแต่ก่อนเริ่มสงครามไปจนถึงสิ้นสุดสงคราม[37][38] ซึ่งจำนวนทั้งหมดนั้นเป็นถึง 30% ของรถถังที่เยอรมันผลิตออกมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

แนวรบฝั่งตะวันตก และสมรภูมิแอฟริกาเหนือ (1939–1942)

เมื่อกองทัพเยอรมันเริ่มบุกโปแลนด์นั้น เยอรมันมีรถถังแบบ พันท์เซอร์ I จำนวน 1445 คัน แบบ พันท์เซอร์ 2 จำนวน 1223 คัน แบบ พันท์เซอร์ 3 จำนวน 98 คัน และแบบ พันท์เซอร์ 4 จำนวน 211 คันซึ่งรถถังแบบพันท์เซอร์ 4 นั้นมีจำนวนน้อยกว่า 10% ของกำลังรถถังทั้งหมดที่เยอรมันมีอยู่[39]จำนวนกำลังรถถังที่จัดเข้าในกองพลทหารยานเกราะที่ 1 เป็นดังนี้พันท์เซอร์ 1 จำนวน 17 คันพันท์เซอร์ 2 จำนวน 18 คันพันท์เซอร์ 3 จำนวน 28 คันและพันท์เซอร์ 4 จำนวน 14 คัน

ส่วนกองพลของทหารยานเกราะอื่นๆนั้นจะเน้นใช้รถถังรุ่นเก่าที่มีอยู่ ซึ่งมีการจัดกำลังดังนี้พันท์เซอร์ 1 จำนวน 34 คันพันท์เซอร์ 2 จำนวน 33 คันพันท์เซอร์ 3 จำนวน 5 คันและพันท์เซอร์ 4 จำนวน 6 คัน[40]

ถึงแม้ว่าโปแลนด์จะมีรถถังที่มีความสามารถในการเจาะเกราะรถถังเยอรมันได้กว่า 200 คัน และมีปืนต่อสู้รถถังที่มีประสิทธิภาพแต่เยอรมันก็เชื่อมั่นว่าพันท์เซอร์ 4 จะสามารถทำหน้าที่ในการเป็นหัวหอกในการต่อสู้กับยานเกราะเหล่านั้นได้

ถึงแม้เยอรมันจะทำการเพิ่มกำลังการผลิตรถถังแบบ พันท์เซอร์ 3 และพันท์เซอร์ 4 เป็นจำนวนมากในช่วงที่เยอรมันทำการบุกฝรั่งเศส แต่รถถังเยอรมันที่เข้าประจำการส่วนหญ่ยังคงเป็นรถถังเบาอยู่ โดยรถถังที่ทำการบุกฝรั่งเศสนั้นมี พันท์เซอร์ I 523 คัน พันท์เซอร์ 2 955 คัน พันท์เซอร์ 3 349 คัน พันท์เซอร์ 4 106 คัน พันท์เซอร์ 35(t) 106 คัน และ Panzer 38(t) 228 คัน[41]เยอรมันได้ใช้กลยุทธ์ที่ดีกว่าในการเข้าปะทะ[42] ทำให้กองทัพรถถังเยอรมันชนะในการศึกถึงแม้ว่าจะมีรถถังเบาเป็นจำนวนมากก็ตาม[43]

ปัญหาที่เกิดขึ้นกับรถถังแบบพันท์เซอร์ 4 นั้นคืออัตราการเจาะเกราะที่ต่ำ เนื่องจากมันได้ทำการติดตั้งปืน KwK 37 L/24 ซึ่งยิงกระสุนออกไปได้ด้วยความเร็วต่ำ จึงไม่สามารถเจาะเกราะรถถังของฝรั่งเศสและอังกฤษได้[44] รถถัง Somua S35 ของฝรั่งเศสนั้นมีเกราะหนา 55 มิลลิเมตร ซึ่งปืนของพันท์เซอร์ 4 สามารถเจาะเกราะได้แค่ 43 มิลลิเมตร ที่ระยะ 700 เมตรเท่านั้น ส่วนการต่อสู้กับรถถัง Matilda Mk 2 ของอังกฤษนั้น เนื่องจากเกราะด้านหน้าของ Matilda Mk 2 มีความหนาถึง 70 มิลลิเมตรจึงไม่มีทางเลยที่พันท์เซอร์ 4 จะเจาะเกราะเข้าไปได้ซึ่งถึงแม้จะทำการยิงเข้าจากด้านข้าง ก็ยังต้องเจอเกราะหนาขนาด 60 มิลลิเมตร ซึ่งปืน KwK 37 L/24 ไม่สามารถเจาะเข้าไปทำความเสียหายได้

รถถัง Crusader tank ของสหราชอาณาจักร แล่นผ่านพันท์เซอร์ 4 ที่เสียหาย รูปจากยุทธการ Operation Crusader, ปลายปี ค.ศ. 1941.

พันท์เซอร์ 4 ที่กองกำลังเยอรมันได้รับในสมรภูมิแอฟริกานั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้แทน พันท์เซอร์ 3 ได้ เนื่องจาก พันท์เซอร์ 3 นั้นมีอัตราการเจาะเกราะที่สูงกว่า [45]แต่อย่างไรก็ดี ทั้งพันท์เซอร์ 3 และพันท์เซอร์ 4 ก็ต่างไม่สามารถเจาะเกราะที่หนาของรถถัง Matilda Mk 2 ได้ ส่วนปืนของ Matilda Mk 2 นั้น สามารถเจาะทะลุเกราะทั้ง พันท์เซอร์ 2 และพันท์เซอร์ 4 ได้ทั้งหมด ซึ่งรถถังพันท์เซอร์ 3 และพันท์เซอร์ 4 มีข้อได้เปรียบอย่างเดียวคือสามารถทำความเร็วได้ดีกว่า[46]

เดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1942 เอียร์วิน รอมเมล ได้รับพันท์เซอร์ 4 รุ่น F2 เป็นจำนวน 27 คัน ซึ่งรถถังในรุ่นนี้ติดปืน KwK 40 L/43 ซึ่งมีขนาดความยาวลำกล้องมากกว่า ซึ่งรอมเมลตั้งใจจะใช้รถถังรุ่นใหม่นี้เป็นหัวหอกในการบุก[46] เพราะปืนขนาดความยาวลำกล้องที่มากกว่านั้น จะให้ความเร็วกระสุนที่สูงกว่า จึงทำให้มีอัตราการเจาะเกราะที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ซึ่งรถถังรุ่นใหม่นี้สามารถทำลายรถถังอังกฤษได้ที่ระยะถึง 1500 เมตร[47]

ถึงแม้ว่าเยอรมันจะได้รับรถถังรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก แต่ก็เทียบไม่ได้กับยุทธภัณฑ์ที่ถูกส่งไปยังอังกฤษ ซึ่งจะถูกนำมาสร้างเป็นรถถังและส่งมารบกับเยอรมันในภายหลัง[48]นอกจากนี้พันท์เซอร์ 4 นั้นยังได้นำไปใช้ในการบุกยูโกสลาเวียและกรีซในปี ค.ศ. 1941 อีกด้วย[49]


สมรภูมิด้านตะวันออก (1941–1945)

เมื่อเยอรมันได้เริ่ม ยุทธการบาร์บารอสซา เยอรมันต้องต่อกรกับรถถังที่มีเกราะหนาอย่าง KV-1 และ T-34 ซึ่งเป็นสาเหตุให้เยอรมันต้องทำการปรับปรุงรถถังของตนให้มีอาวุธที่มีอานุภาพในการเจาะเกราะที่ดียิ่งขึ้น

เมื่อพันท์เซอร์ 4 ที่ติดอาวุธปืน KwK 40 L/43 ใหม่นี้ได้เข้าสู่สมรภูมิ มันสามารถทำลายรถถัง T-34 ของโซเวียตได้ที่ระยะ 1200 เมตร[50]โดยปืน KwK 40 L/43 ที่ติดตั้งใหม่นี้สามารถเจาะเกราะรถถัง T-34 ได้ทุกด้าน โดยมีระยะยิงตั้งแต่ 1000 เมตร ถึง 1600 เมตร[51]

โดยรถถังรุ่นใหม่ที่ถูกส่งมานี้เป็นรุ่น F2 ซึ่งมีจำนวนประมาณ 135 คัน ซึ่ง ณ ขนะนั้น มีเพียงพันท์เซอร์ 4 รุ่นใหม่นี้เท่านั้นที่จะสามารถทำลายรถถัง T-34 และ KV-1 ได้[52]พันท์เซอร์ 4 จึงกลายเป็นกำลังสำคัญมากในช่วงนี้[53] เนื่องจากรถถังแบบทีเกอร์ 1 ที่ยังมีปัญหา และรถถังพันเทอร์ ที่ยังไม่ได้ส่งมอบให้แก่กองทัพเยอรมัน

ในช่วงปี ค.ศ. 1942 พันท์เซอร์ 4 จำนวน 502 คันถูกทำลายในสมรภูมิรบตะวันออก[54]

พันท์เซอร์ 4 ยังคงเป็นกำลังหลักต่อไปในสมรภูมิจนถึงปี ค.ศ. 1943 และได้เข้าร่วม สมรภูมิที่ เคริซ์ส่วนรถถังเสือดำ ที่เป็นรุ่นใหม่กว่านั้นก็ยังประสบปัญหาบางประการ จึงไม่สามารถทำการรบได้อย่างเต็มที่[55]มีพันท์เซอร์ 4 จำนวน 841 คันเข้าร่วมการรบในสมรภูมิเคริซ์[56]

ตลอดปี ค.ศ. 1943 เยอรมันสูญเสียพันท์เซอร์ 4 จำนวน 2,352 คันในสมรภูมิตะวันออก[57]จากการสูญเสียรถถังเป็นจำนวนมาก กองพลยานเกราะ 1 กองพล ถูกปรับลดให้มีรถถังเพียง 12 - 18 คันเท่านั้น[53]

ค.ศ. 1944 เยอรมันสูญเสีย พันท์เซอร์ 4 เป็นจำนวนมากถึง 2643 คัน ซึ่งเยอรมันไม่สามารถผลิตรถถังเข้ามาแทนที่รถถังที่เสียไปเหล่านี้ได้ทัน[58]

ในปีสุดท้ายของการรบ รถถังเยอรมัน ไม่สามารถต่อกรกับ T-34 ที่ถูกปรับปรุงมาใหม่ได้อีกแล้วแต่เนื่องจาก รถถังเสือดำ ยังไม่สามารถจัดหามาประจำการแทน พันท์เซอร์ 4 ได้ทัน พันท์เซอร์ 4 จึงยังต้องทำหน้าที่เป็นกำลังหลักไปก่อน

ในปี ค.ศ. 1945 เยอรมันสูญเสียพันท์เซอร์ 4 จำนวน 287 คัน ซึ่งจากจำนวนที่ทหารของฝ่ายโซเวียดได้ทำการบันทึกไว้นั้นมีพันท์เซอร์ 4 จำนวน 6,153 คัน หรือ 75% ของพันท์เซอร์ 4 ถูกทำลายในสมรภูมิตะวันออก[59]

พันท์เซอร์ 4 รุ่น H จาก 12th Panzer Division (Wehrmacht) กำลังปฏิบัติการณ์ในสมรภูมิตะวันออก ปี 1944

สมรภูมิด้านตะวันตก (1944 - 1945)

เมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรเริ่ม ยุทธการโอเวอร์ลอร์ด พันท์เซอร์ 4 นั้นมีจำนวนเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกำลังรถถังทั้งหมดที่อยู่ในแนวรบตะวันตก[60]กองพลยานเกราะทั้ง 11 กองพลที่ปฏิบัติการณ์ในนอร์ม็องดีนั้น ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยรถถังแบบ พันท์เซอร์ 4 และรถถังพันเทอร์ โดยมีจำนวนรวมแล้วราวๆ 160 คัน

การปรับปรุงพันท์เซอร์ 4 นั้น สร้างชื่อเสียงให้รถถังจนเป็นที่น่าเกรงขามแก่สัมพันธมิตร[60] ทั้งๆที่กองกำลังทางอากาศของสหรัฐสามารถครอบครองทางอากาศได้หมดแล้วแต่การซุ่มโจมตีของรถถัง และปืนต่อสู้รถถังของเยอรมันนั้นสามารถทำลายรถถังของสัมพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก

กองกำลังของสหราชอาณาจักร ทำลายพันท์เซอร์ 4 ในขณะการรบที่นอร์ม็องดี

ในช่วงยุทธการโอเวอร์ลอร์ดนั้น ทั้งรถถังแบบ พันท์เซอร์ 4 และรถถัง พันเทอร์ มักจะถูกทำลายได้ง่ายจากการถูกซุ่มโจมตีข้างทางเมื่อเจอกับทหารราบที่ติดอาวุธต่อสู้รถถังมาด้วย หรือไม่ก็เป็นรถถังพิฆาตรถถัง เช่นเดียวกับเครื่องบินโจมตีภาคพื้นดินที่บินเข้ามาสนันสนุนระยะใกล้[61]

ภูมิประเทศในแถบนั้นมีพุ่มไม้เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการใช้รถถัง ดังจะเห็นได้จากจำนวนรถถังที่ได้รับความเสียหายที่กระโปรงเกราะด้านข้าง เนื่องจากถูกซุ่มโจมตีซึ่งยานเกราะของเยอรมันล้วนหวาดหวั่นจากการถูกซุ่มโจมตีเมื่อต้องผ่านบริเวณพุ่มไม้[60]

ทางฝั่งสัมพันธมิตรนั้นได้ทำการค้นคว้าและวิจัยรถถังของตนเอง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถถังแบบ เอ็ม 4 เชอร์แมน (อังกฤษ : M4 Sherman) ซึ่งระบบเครื่องยนต์นั้นนับว่ามีความเสถียร เชื่อถือได้แต่หากมีข้อเสียซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้เสียเปรียบมากคือเกราะที่บาง และปืนต่อสู้รถถังที่ไม่สามารถเจาะเกราะรถถังเยอรมันได้[62]

เมื่อ เอ็ม 4 เชอร์แมน ต้องทำการต่อสู้กับ พันท์เซอร์ 4 ในรุ่นแรกๆ เอ็ม 4 เชอร์แมน ยังพอทำลายพันท์เซอร์ 4 ได้บ้าง แต่เมื่อเจอกับ พันท์เซอร์ 4 ในรุ่นหลังๆแล้วนั้นรถถัง เอ็ม 4 เชอร์แมน ไม่สามารถทำอะไรได้เลย (นอกจากนี้ เอ็ม 4 เชอร์แมน ยังไม่สามารถเจาะเกราะรถถัง พันเทอร์ และรถถัง ไทเกอร์ ของเยอรมันได้ ไม่ว่าจะเข้าไปยิงในระยะใกล้เพียงใดก็ตาม)[63]พันท์เซอร์ 4 ในรุ่นหลังๆ ที่ทำการปรับปรุงเกราะด้านหน้าแล้วนั้น สามารถยังยั้งปืนของ เอ็ม 4 เชอร์แมนได้เป็นอย่างดี[64]

ด้วยเหตุนี้ กองกำลังสหราชอาณาจักร จึงได้ทำการติดตั้งปืนแบบ คิวเอฟ 17 ปอนด์ (อังกฤษ : QF 17 pounder) บนรถถัง เอ็ม 4 เชอร์แมน เดิม ซึ่งรถถังที่ติดตั้งปืนใหม่เข้าไปนี้ได้ชื่อว่า เชอร์แมน ไฟร์ฟลาย (อังกฤษ : Sherman Firefly)[65]ซึ่งรถถัง เชอร์แมน ไฟร์ฟลาย นี้ เป็นรถถังเพียงแบบเดียวที่สามารถสู้รบกับรถถังเยอรมันทุกชนิดได้อย่างสูสี มีรถถังเชอร์แมน ไฟร์ฟลายจำนวน 300 คันที่เข้าร่วมรบในยุทธการโอเวอร์ลอร์ด ที่นอร์ม็องดี[62]

อเมริกาเริ่มทำการติดตั้งปืนแบบ เอ็ม 1 (อังกฤษ : M1) ให้กับ รถถัง เอ็ม 4 เชอร์แมนของตน ปืนเอ็ม 1 นี้มีขนาดลำกล้องที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งนั่นก็เพียงพอต่อการเข้าสู้รบกับพันท์เซอร์ 4 แล้ว[66][67]

ถึงแม้ว่าเยอรมันจะเป็นเจ้าแห่งสมรภูมิรถถัง ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1944 กองทัพที่ 5 และ 7 ของเยอรมันก็ต้องทำการถอยร่นเข้าสู่ประเทศเยอรมนีมีรถถังเยอรมันประมาณ 2,300 คันเข้าร่วมรบในนอร์ม็องดี (ในจำนวนนี้มีรถถังแบบพันท์เซอร์ 4 จำนวน 750 คัน) เยอรมันเสียรถถังไปทั้งหมด 2,200 คันเนื่องจากการสูญเสียอย่างหนักนี้ ทำให้ในแต่ละกองพลๆ หนึ่งของเยอรมัน เหลือรถถังเข้าประจำการเพียง 5 ถึง 6 คันเท่านั้น

ในช่วงฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1944 พันท์เซอร์ 4 ก็ได้ถูกใช้เป็นกำลังหลักอีกครั้งใน การยุทธที่ป่าอาร์เดนน์ ซึ่งพันท์เซอร์ 4 ก็ถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เยอรมันยังไม่สามารถใช้รถถังได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควรด้วยเนื่องจากการขาดแคลนน้ำมัน[68]พันท์เซอร์ 4 ที่เข้าร่วมรบใน การยุทธที่ป่าอาร์เดนน์นี้เป็นรถถังที่เหลือรอดมาจากการรบกับฝรั่งเศส ซึ่งมีจำนวนประมาณ 260 คัน[69]